top of page

ทันตกรรมประดิษฐ์

คู่รักสูงอายุยิ้มอย่างมีความสุขและความมั่นใจ
ยิ้มผู้หญิงผู้ใหญ่

ฟันปลอมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ฟันปลอมแบบถอดได้

​​ฟันปลอมแบบถอดได้แต่ละชนิดจะแยกที่วัสดุบริเวณฐาน แต่ตัวฟันจะใช้เหมือนกัน โดยในปัจจุบันมีวัสดุที่หลากหลาย

1.1 ฐานอะคริลิคหรือพลาสติก (TP)

  • ตัวฐานสีชมพู ต้องมีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตรถึงจะแข็งแรง

  • เหมาะกับคนไข้ที่ทำฟันปลอมทั้งปากหรือคนไข้ที่มีฟันเดิมไม่ค่อยแข็งแรง  

  • มีค่าใช้จ่ายย่อมเยาที่สุดในประเภทฟันปลอมแบบถอดได้

ฟันปลอมฐานอะคริลิคหรือพลาสติก (TP) .jpg
ฟันปลอมฐานโครงโลหะ (RPD) .jpg

1.2 ฐานโครงโลหะ (RPD) 

  • ​มีความแข็งแรงกว่า และค่อนข้างปรับตัวในการใส่ได้ง่ายกว่าฐานพลาสติก เนื่องจากชิ้นงานโครงโลหะไม่จำเป็นต้องใหญ่ ก็มีความแข็งแรงเพียงพอ 

  • อาจจะไม่เหมาะในกรณีฟันธรรมชาติเดิมไม่ค่อยแข็งแร็ง เนื่องจากมีแรงจับค่อนข้างแน่น อาจจะทำให้ฟันเดิมที่ไม่ค่อยแข็งแรงอยู่แล้วสภาพแย่ลงได้ เนื่องจากมีการใช้แรงในการงัดฟันขณะถอดเข้า-ถอดออก

  • มีราคาสูงกว่าฐานอะคริลิค   

1.3 ฐานแบบยืดหยุ่น (Valplast) 

  • ทำจากไนลอนมีความยืดหยุ่น สีชมพูเหมือนกับเหงือก มีความสวยงามมากกว่าฐานอื่น 

  • เนื่องจากฐานที่นิ่ม ทำให้การกระจายแรงไม่ได้ดีเท่าพลาสติกหรือโครงโลหะ

  • ส่วนใหญ่จึงมักแนะนำทำในกรณีต้องการทำฟันปลอมเพียง 1-2 ซี่  

ฟันปลอมฐานแบบยืดหยุ่น (Valplast) .jpg

2.ฟันปลอมแบบถอดไม่ได้

ครอบฟัน

2.1 ครอบฟัน

​       เป็นการรักษาโดยการบูรณะฟันที่มีสูญเสียเนื้อฟันมากๆ อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุฟันแตก ฟันที่ผ่านการรักษารากส่งผลให้ความแข็งแรงของฟันลดลงเยอะ เนื่องจากมีจุดเปราะเพิ่มขึ้นหลายจุด

      การครอบฟันเป็นเสมือนการสวมหมวกป้องกันไม่ให้ฟันแตกแยกออกจากกัน เพราะเราไม่รู้เลยว่าเมื่อไหร่จะเกิดโชคไม่ดีกัดลงบริเวณที่ไม่แข็งแรง หากแตกลึกหรือใหญ่มากก็อาจจะนำไปสู่การถอนฟัน

            วิธีการทำครอบฟันง่ายๆก็เหมือนกับการกรอเนื้อฟันให้มีขนาดเล็กลงเพียงที่ทำครอบมาสวม จากนั้นก็สร้างแบบจำลองเพื่อนำไปให้ทางแล็บทันตกรรมทำครอบฟันถาวรมายึดติดกับตัวฟัน

2.2 สะพานฟัน

       มีลักษณะเหมือนกับการครอบฟันแต่เป็นการครอบฟัน 3 ซี่หรือมากกว่านั้น เชื่อมติดกัน วัตถุประสงค์หลักคือการทำเพื่อทดแทนช่องว่างของฟันซี่ที่หายไป 

          

       วิธีการรักษาเมื่อถอนฟันออกไปแล้ว 1 ซี่ ทันตแพทย์จะกรอฟันซี่ข้างเคียงฟันที่ถอนออกไปหรือของช่องว่างนั้นๆให้มีขนาดเล็กลง โดยตัวครอบฟันซี่ที่อยู่ตรงกลางจะเป็นฟันปลอมเนื้อเต็ม และครอบฟันซี่สุดท้ายที่อยู่ริมสองฝั่งจะมีลักษณะกลวงด้านในเพื่อให้สามารถสวมลงไปบนฟันที่ได้ทำการกรอไปก่อนหน้านั้น ใส่กาวเพื่อยึดกับตัวฟัน เมื่อเสร็จสิ้นก็จะกลายเป็นครอบฟัน 3 ซี่ติดกันหรือที่เรียกว่าสะพานฟัน 

สะพานฟัน
รากเทียม

2.3 รากเทียม

       เป็นการรักษาทางทันตกรรมโดยการฝังรากเทียมลงไปเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป หรือสูญเสียไปจากอุบัติเหตุ เป็นการฝังวัสดุไทเทเนียมลงไปในขากรรไกรและรอให้กระดูกเข้ามายึดติด ซึ่งโดยปกติแล้วพื้นผิวของรากเทียมบริเวณเกลียวจะมีสารกระตุ้นเพื่อให้มีการก่อตัวของเซลล์กระดูกให้ยึดกับรากเทียม

คำแนะนำและข้อควรปฏิบัติหลังใส่ฟันปลอม

  1. แรกๆ เมื่อใส่ฟันปลอมชุดใหม่ เหงือกของคนไข้จะยังไม่ชินกับแรงบดเคี้ยว ทำให้บางจุดอาจจะมีอาการเจ็บได้บ้าง ซึ่งตัวฟันปลอมจำเป็นจะต้องมีการกรอปรับแต่งแก้ไข อาจจะหลายครั้ง ขึ้นกับแต่ละบุคคล เมื่อกรอแก้ไขได้ลงตัว การกระจายแรงทำได้ดีแล้ว คนไข้ก็จะสามารถใช้ฟันปลอมได้อย่างดี เพราะฉะนั้น ในช่วงแรก หากเจ็บเล็กน้อย พยายามฝืนใส่ เพื่อที่ทันตแพทย์ฟันปลอม จะได้เห็นรอยกด การกรอแก้ไข ก็จะสามารถทำได้ตรงจุด

  2. การออกเสียงในช่วงแรกสำหรับผู้ที่พึ่งเริ่มใส่ฟันปลอมเป็นครั้งแรก อาจจะมีปัญหาเรื่องออกเสียงได้ไม่ชัด เนื่องจาก กล้ามเนื้อในช่องปาก และลิ้นต้องใช้เวลาปรับตัวประมาณ 1-2 อาทิตย์

  3. ควรถอดฟันปลอมในเวลานอน เพื่อให้เหงือกได้มีเวลาพักจากแรงกด และปล่อยให้น้ำลายชะล้างเหงือกที่อยู่ใต้ฐานฟันปลอมบ้าง

  4. ทำความสะอาดฟันปลอมทุกวัน ด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจานอ่อนๆ ไม่แนะนำให้ใช้ยาสีฟันในการขัด เนื่องจากในยาสีฟันมีผงขัด ซึ่งอาจจะทำให้ตัวผิวของฟันปลอมที่มีการเคลือบเงามา สึก ผิวหยาบ สกปรก และดูโทรมเร็ว

  5. ขณะทำความสะอาด แนะนำให้ทำบริเวณเหนืออ่างล้างมือ หรือมีภาชนะรองด้านใต้ เนื่องจากพบได้บ่อยว่าคนไข้ทำฟันปลอมร่วงลงพื้นขณะทำความสะอาด ทำให้ตัวฟันปลอมชำรุดและต้องทำใหม่

bottom of page