ปริทันต์
(โรคเหงือก)
ในช่องปากมีการเกิดเชื้อแบคทีเรียอยู่ตลอด เชื้อเหล่านี้เกิดจากอาหารและน้ำลาย เมื่อเชื้อเติบโตมากขึ้นก็จะเป็นการสะสมของแบคทีเรีย หากมีพฤติกรรมการแปรงฟันไม่สะอาดก็จะทำให้เกิดคราบแบคทีเรียหรือที่เรียกว่าคราบพลัค(Plague)มีลักษณะเหมือนชีสหรือเนยสีเหลืองเกาะอยู่บนผิวฟันและผิวรากฟัน เมื่อประกอบกับน้ำลายที่มีแร่ธาตุหลากหลายชนิดก็จะไปตกตะกอนที่คราบพลัคจนทำให้คราบพลัคแข็งตัวขึ้นกลายเป็นหินปูน (calculus)และไม่สามารถแปรงออกได้ หินปูนซึ่งมีผิวขรุขระมากกว่าผิวฟันก็จะยิ่งทำให้คราบพลักเกาะตัวและสะสมได้ง่ายขึ้น
เมื่อมีคราบแบคทีเรียไปอยู่ตรงบริเวณคอฟันซึ่งเป็นตำแหน่งที่คนไข้ส่วนใหญ่มักจะแปรงไม่โดน หากสะสมไปเรื่อยๆ ระบบภูมิต้านทานของร่างกายจะหลังสารไปทำลายคราบแบคทีเรียนั้นเป็นกระบวนการทำลายเชื้อโรค ซึ่งเป็นการจัดการบริเวณกว้างจึงส่งผลให้เหงือกและกระดูกบริเวณนั้นโดนทำลายไปด้วย โดยเริ่มจากอาการเหงือกบวมอักเสบ แดงเล็กน้อยต่างไปจากเหงือกปกติ เมื่อแปรงฟันจะมีเลือดออก มีกลิ่นปากซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของ โรคเหงือกอักเสบ (Gingivistis)
เมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานานๆการอักเสบจะไม่ได้อยู่แค่ระดับเหงือกแต่จะเริ่มลงไปบริเวณรอบๆฟันไม่ว่าจะเป็นเอ็นยึดปริทันต์ กระดูกเบ้าฟันและผิวรากฟัน มีการละลายของกระดูกร่วมด้วย ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า โรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) หรือ โรครำมะนาด ซึ่งการทำลายของกระดูกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ฟันที่เป็นจะโยกและจะสูญเสียฟันซี่นั้นไปในที่สุด และยังพบได้บ่อยว่ามีการติดเชื้อ บวม ปวด และเป็นหนองร่วมด้วย
ขูดหินปูน
การรักษาโดยใช้เครื่องขูดหินปูนอัลตราโซนิกที่มีความสั่นถี่สูงไปจี้บริเวณหินปูนเพื่อการกระเทาะให้คราบหินปูนหลุดออก
เกลารากฟัน
บริเวณก้นเหงือกและขอบเหงือกมีพื้นที่โล่งๆทำให้มีหินปูนไปเกาะอยู่บริเวณนั้น ซึ่งในคนไข้ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) จะมีความสูงจากบริเวณก้นเหงือกไปจนถึงขอบเหงือกต่างจากปกติ เนื่องจากกระดูกโดนทำลาย จึงส่งผลให้บริเวณก้นเหงือกมีความลึกกว่าปกติ เมื่อแปรงฟันขนแปรงไม่สามารถแผ่ลงไปทำความสะอาดได้
ในการรักษาไม่สามารถใช้หัวขูดหินปูนลงไปทำความสะอาดได้เหมือนกับการขูดหินปูนทั่วไป จำเป็นต้องใช้วิธีการเกลารากฟันโดยใช้หัวขูดพิเศษที่มีขนาดเรียวเล็กร่วมกับความสามารถของทันตแพทย์ลงไปขูดผิวรากฟันให้เรียบเกลี้ยง ไม่มีคราบหินปูนหรืออะไรไปเกาะ
วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบ (Gingivistis)
-
ขูดหินปูนและเกลารากฟัน
-
แนะนำวิธีการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง
วิธีการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)
-
ประเมินระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ xray วางแผนการรักษา
-
กำจัดสาเหตุของโรคโดยการนำคราบแบคทีเรียหรือหินปูน โดยการขูดหินปูนบริเวณผิวฟันและบริเวณใต้เหงือก และเกลารากฟันเพื่อให้พื้นที่บริเวณนั้นเรียบเกลี้ยง และสามารถให้เหงือกกลับมายึดได้ดีเหมือนเดิม โดยการรักษาอาจมีการฉีดยาชาเฉพาะที่ร่วมด้วย
-
หลังจากเหงือกกลับมาเป็นสภาวะปกติ ทันตแพทย์จะนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาและเช็คว่ายังมีร่องลึกปริทันต์หลงเหลืออยู่หรือไม่ หากยังมีก็จำเป็นต้องวางแผนการรักษาต่อไปซึ่งก็คือการศัลยกรรมปริทันต์
-
ในคนไข้บางท่านอาจมีการปลูกกระดูกเพื่อทำให้กระดูกมีรูปร่างเหมาะสมต่อการใช้งานและทำความสะอาด
-
แนะนำวิธีการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง
วิธีการป้องกัน
ควรหมั่นทำความสะอาดช่องปากโดยการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ มีการขูดหินปูนเป็นประจำ เนื่องจากบางจุดเราไม่สามารถทำความสะอาดได้ด้วยตนเอง และใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดเพิ่มร่วมด้วยเช่น ไหมขัดฟัน แปรงกระจุก